เกี่ยวกับโครงงาน


แบบเสนอโครงร่างโครงงานคอมพิวเตอร์

 


๑.  โครงงานเว็บบล็อก(blog)   เรื่อง  “ เห็ดมหัศจรรย์ ”

๒.  ชื่อผู้เสนอโครงงาน
   
 ๒.๑  นายอรรถสิทธิ์      ผิวเหลือง   เลขที่       ชั้น ม.๖/๒
     ๒.๒ 
นายธนวรรธน์      ขุนเจริญ    เลขที่  ๑๐   ชั้น ม.๖/๒
     ๒.๓  นางสาวนามิต้า     ฉาดหลี
     เลขที่  ๑๗   ชั้น ม.๖/๒

๓.  ครูที่ปรึกษาโครงงาน  คุณครูโสภิตา  สังฆะโณ และคุณครูเชษฐา  เถาวัลย์

๔.  หลักการและเหตุผล
        เห็ดมีความหมายหลายอย่างขึ้นอยู่กับการใช้ประโยชน์
ถ้านำไปบริโภคเห็ดจะจัดอยู่ในกลุ่มพืชผัก เป็นพวกที่มีสารอาหารโปรตีนสูง อุดมไปด้วยวิตามินและเกลือแร่ที่สำคัญหลายชนิด โดยเฉพาะวิตามิน B, B และมีแคลอรีต่ำ  เห็ดยังถูกจัดเป็นพืชชั้นต่ำกลุ่มหนึ่ง  เนื่องจากเห็ดไม่มีคลอโรฟิลล์สังเคราะห์แสงไม่ได้ ปรุงอาหารไม่ได้ ต้องอาศัยอาหารจากสิ่งมีชีวิตอื่นๆ โดยการเป็นปรสิต (Parasite) หรือขึ้นบนรากพืชที่ตายแล้ว (Saprophyte) หรืออาศัย อาหารจากรากพืชอื่นๆ (Mycorrhiza)   เห็ด เชื้อราชั้นสูง - รักบ้านเกิด.com ” , ม.ป.ป. : ๓๕


        มนุษย์ในอดีตรู้จักการนำเห็ดที่สามารถรับประทานได้มาบริโภคปรุงแต่งประกอบอาหารซึ่งเห็ดหลายชนิดที่มีลักษณะรูปร่างสวยงามอาจจะมีสารพิษที่ก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายถึงขั้นเสียชีวิตได้และเห็ดบางชนิดก็มีกลิ่นหอมบางชนิดก็มีกลิ่นเหม็นทำให้วิงเวียนศีรษะหรืออาเจียนได้  โทษแอบแฝงของเห็ด ๒๕๕๒ : ๑–๑๒


        การพัฒนาเห็ดจนประสบผลสำเร็จในแผนกโรคพืช กรมวิชาการเกษตร ได้ทดลองเพาะเห็ด ปรากฏว่าประสบผลสำเร็จและได้มีพัฒนาจนสามารถเพาะเห็ดได้ตลอดทั้งปีหลังจากนั้นก็ได้ทำการอบรมเผยแพร่แก่เกษตรกร จึงได้จัดตั้งชมรมเห็ดขึ้นในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ทำให้การเพาะเห็ดในประเทศไทยตื่นตัวมากขึ้นและเป็นที่รู้จักกันมากขึ้นเพราะเห็ดมีคุณประโยชน์และมีคุณค่าทางอาหารสูง เพราะฉะนั้นประชากรส่วนใหญ่จึงนิยมบริโภคและเพาะเลี้ยงเห็ดเพื่อที่จะนำไปประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองและครอบครัว       


        จากข้อมูลข้างต้นสรุปได้ว่า การเลือกบริโภคเห็ดนั้นเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งเพราะเห็ดแต่ละชนิดก็มีทั้งประโยชน์และโทษแตกต่างกันไป  ซึ่งถ้าเรารับประทานเห็ดที่มีสารพิษก็จะเป็นอันตรายต่อร่างกายถึงขั้นเสียชีวิตได้  เพราะฉะนั้นเราควรที่จะศึกษาและเลือกรับประทานเห็ดที่สามารถบริโภคได้ ผู้จัดทำจึงได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเห็ดไปเผยแพร่ผ่าน Social Network เว็บ blog ซึ่งเป็นช่องทางหนึ่งที่สามารถค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับเห็ดได้เป็นอย่างดี



๕.  หลักการ ทฤษฎีและเอกสารงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

   
๕.๑  ความหมายและประโยชน์ของเว็บบล็อก
       ๕.๒  ประเภทของโดเมนเนม
       ๕.๓  ความหมายและส่วนประกอบของภาษา
HTML
       ๕.๔  ภาษา PHP และการสอดแทรกคำสั่งภาษา PHP ในเอกสาร HTML
       ๕.๕  ความหมายและความสำคัญของเห็ด
       ๕.๖  การแยกเชื้อเห็ดเพื่อเพาะเลี้ยงเชื้อเห็ดบริสุทธิ์และประโยชน์ของเห็ด



๖.  วัตถุประสงค์ของโครงงาน 
     ๖.๑
  เพื่อจัดทำเว็บบล็อกเรื่อง “ เห็ดมหัศจรรย์ ”
    ๖.๒  เพื่อศึกษาเกี่ยวกับเห็ดนานาชนิด
    ๖.๓  เพื่อศึกษาวิธีการเพาะเลี้ยงเห็ด
    ๖.๔  เพื่อศึกษาประโยชน์ของเห็ดที่มีต่อร่างกาย  
    ๖.๕  เพื่อที่จะนำความรู้ที่ได้ไปประกอบอาชีพ



.  ขอบเขตของโครงงาน
    
  ๗.๑  ศึกษา  ค้นคว้าและรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเห็ด
     ๗.๒  เวลาของการดำเนินการ คือ  วันที่ ๑๒ พ.ย. ๕๕    ๑๕ ก.พ. ๕๖  / ภาคเรียนที่ 
     ๗.๓  แหล่งค้นคว้าข้อมูล คือ  อินเทอร์เน็ตและสถานที่เพาะเลี้ยงเห็ด ณ  
ศูนย์สาธารณสุขมูล
            ฐานชุมชน  ต.ควนสตอ  อ.เมือง  จ.สตูล
  



๘.  เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา

     ๘.๑   โปรแกรม Photoshop และ Photo Scape ใช้สำหรับตกแต่งรูปภาพ
     ๘.๒   โปรแกรม
Microsoft Word ๒๐๑๐ ใช้ในการจัดทำเอกสาร
     ๘.๓   ใช้รูปแบบของบล็อกในการนำเสนอเพื่อเผยแพร่ข้อมูล



 ๙.  ขั้นตอนวิธีการดำเนินงาน 
 


การดำเนินการ

วันที่ / ระยะเวลาที่ดำเนินการ

ผู้รับผิดชอบ

กำหนดหัวข้อโครงงาน

๑๒ พ.ย. ๕๕  -  ๑๖ พ.ย. ๕๕

อรรถสิทธิ์     

เสนอโครงร่างโครงงาน

๑๙ พ.ย. ๕๕  -  ๒๘ พ.ย. ๕๕

อรรถสิทธิ์     

ลงพื้นที่รวบรวมข้อมูล

๑ พ.ย. ๕๕    -  ๑๔ ธ.ค. ๕๕

นามิต้า , อรรถสิทธิ์ , ธนวรรธน์    

ออกแบบเว็บไซต์

๑๙ พ.ย. ๕๕  -  ๒๘ พ.ย. ๕๕

ธนวรรธน์     

วิเคราะห์ข้อมูล

๒๑ ธ.ค. ๕๕   - ๓๐ ธ.ค. ๕๕

นามิต้า , อรรถสิทธิ์     

พัฒนาเว็บไซต์

๑ ม.ค. ๕๖    -  ๑๐ ม.ค. ๕๖

อรรถสิทธิ์       

ทดสอบและแก้ไขระบบ

๑๑ ม.ค. ๕๖  -  ๑๔ ก.พ. ๕๖

ธนวรรธน์ , นามิต้า       

นำเสนอโครงงาน

๑๑ ก.พ. ๕๖  -  ๑๕ ก.พ. ๕๖

ธนวรรธน์        

ประเมินผลโครงงาน

๑๘ ก.พ. ๕๖  -  ๒๒ ก.พ. ๕๖

นามิต้า          


 
๑๐.  ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
       ๑๐.๑ 
สามารถอภิปรายความรู้เกี่ยวกับเห็ดได้
        
๑๐.  สามารถอภิปรายวิธีการเพาะเลี้ยงเห็ดได้
        
๑๐.  สามารถอภิปรายประโยชน์ของเห็ดได้
        
๑๐.  สามารถอภิปรายการทำเว็บบล็อกได้


 


ลงชื่อ ..............................................                                    ลงชื่อ ...........................................  
     (
นายธนวรรธน์      ขุนเจริญ )                                            ( นายเชษฐา     เถาวัลย์ )                                                 
                                                                         


ลงชื่อ ..............................................                                    ลงชื่อ ...........................................  
     (
นายอรรถสิทธิ์      ผิวเหลือง )                                             ( นางโสภิตา    สังฆะโณ ) 


 
ลงชื่อ ..............................................                                                คุณครูที่ปรึกษา
     (
นางสาวนามิต้า     ฉาดหลี )                                                                                                                                   
            
            ผู้จัดทำโครงงาน                                                               


 


 

ไม่มีความคิดเห็น: