วันจันทร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

ความชื้นในวัสดุเพาะเห็ด

 
Productivity การเพาะเห็ดขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย

ตัวหนึ่งที่มี Direct Impact คือคุณภาพของก้อนเชื้อเห็ด

เกี่ยวกับเรื่องก้อนเชื้อเห็ด ประเด็นทีมีการกล่าวถึงกันมาก คือ แม่เชื้อเห็ด สูตรอาหารก้อนเห็ด รวมทั้งการนึ่งก้อนเห็ด

แต่ผมว่ายังมีอีกเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ ความชื้นของวัสดุเพาะเห็ด

แห้งไปก็ไม่ดี ชื้นเกินไปก็ยิ่งเป็นปัญหา

โดย ทั่วไปความชื้นของวัสดุเพาะเห็ด หลังจากผสมขี้เลื่อยเข้ากับอาหารเสริม (เช่น รำละเอียด ดีเกลือ ปูนขาว...) และน้ำแล้วมี range อยู่ที่ประมาณ 55-65 % (บางสำนักขึ้นถึง 70% ก็มี)

โดยปกติสูตรอาหารเพาะเห็ดจะมีปริมาณกำกับหมด ยกเว้น น้ำ

น้ำจะเติมเท่าไร ก็ขึ้นอยู่กับความชื้นของขี้เลื้อย lot นั้นๆ ไม่มีคำตอบตายตัว

ถ้า ชื้นมาก ก็เติมน้ำน้อยหน่อย หรือดีไม่ดีอาจต้องหาขี้เลื่อยแห้งมาเติมก็ได้ เช่น บางฟาร์มเก็บขี้เลื้อยไว้กลางแจ้ง แถมผ้าใบก็ไม่ได้คลุม ฝนมา ขี้เลื้อยก็แฉะ

หรืออีกกรณี หนึ่ง คือ ขี้เลื่อยใหม่จะซับน้ำได้ดีกว่าขี้เลื่อยเก่า ความชื้นในขี้เลื่อยใหม่จึงมากกว่าขี้เลื่อยเก่า การเติมน้ำจึงไม่ต้องมากเช่นกัน

ถามว่าความชื้น 55-65% วัดอย่างไร

ถ้า ซื่อๆเลย คือ ก็ชั่งวัสดุเพาะให้ได้ 1 กก. จากนั้นก็ตวงน้ำให้ได้ 5.5 หรือ 6.5 ขีด ผสมและคลุกเคล้าให้เข้ากัน นี้แหละความชื้น 55% หรือ 65%

แต่ทำอย่างนี้ทุก lot ก็ตายครับ ไม่ทันกินพอดี !!

วิธีที่ง่ายกว่านั้นมีครับ คือ

1. ใช้การสังเกต
การวัดความชื้นวัสดุเพาะเห็ด
วิธีนี้ต้องฝึกอย่างเดียวครับ หัดสังเกตบ่อยๆ ประสบการณ์จะสอนเราเอง คือ เติมน้ำพอประมาณ ดูไม่ให้แฉะจนเกินไป
เมื่อผสมคลุกเคล้ากันเรียบร้อยแล้ว ให้จับวัสดุเพาะมาประมาณหนึ่งกำมือ หลังจากนั้นให้กำและบีบ ต้องไม่มีน้ำออกที่ง่ามนิ้ว และเมื่อคลายมือออก วัสดุเพาะจับเป็นก้อนหลวม ไม่แตกร่อนออกอย่างรวดเร็ว
เท่านี้ก็ถือว่าใช้ได้ครับ
ฝึกบ่อยๆ ก็เป็นเร็วครับ ไม่มีอะไรยุ่งยาก

2. ใช้เครื่องมือ

ถ้ายังไม่แน่ใจในประสบการณ์ตัวเอง จะใช้เครื่องวัดก็ไม่ว่ากันครับ เครื่องมือพวกนี้ก็มีให้เลือกหลากหลายชนิด มีทั้งวัดความชื้นอย่างเดียว หรือจะวัดความเป็นกรด-ด่างด้วยก็มี เลือกเอาตามสะดวกครับ

บางทีการยอมจ่ายเล็กๆน้อยๆ เพื่อป้องกันความผิดพลาดก็คุ้มค่าต่อการลงทุนด้วยประสบการณ์ในเรื่องที่ป้องกันได้ครับ

ความ ชื้นที่พอเหมาะของก้อนเชื้อเห็ด จะทำให้การนึ่งก้อนทำได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยป้องกันเชื้อราและโรคต่างๆที่จะตามมาได้อีกทางครับ

เมื่อนั้นเราก็จะได้ก้อนเชื้อเห็ดที่มีคุณภาพไว้ใช้ หรือจำหน่ายต่อไปครับ

Article Credit :
อ.คณวัฒน์ ธีรนิธิวัฒน์ (ที่ปรึกษาธุรกิจ และผู้บริหาร ifarm) - find more

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น