วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

ตำรับยาที่มีเห็ดเป็นส่วนประกอบ

ตามภูมิปัญญาพื้นบ้านอีสาน

ยาย้ายตุ่มหมากสุก เป็นตุ่มชนิดหนึ่งสีเหมือนหมากสุก เกิดเมื่อมีไข้

๑. ฮากแข้งขม (มะแว้ง) (Solanum indicum)
๒. เห็ดขี้ควาย (Psilocybe cubensis)
๓. ขนบั่วไก่ขาว (ขนที่มีลักษณะเป็นเส้นฝอยเล็กๆ ของไก่ขาว)
ฝนใส่น้ำหน่อไม้ส้ม (หน่อไม้ดอง) ทาดีแล 

ยาแก้ตุ่มบ่ขึ้น
เมื่อเป็นไข้แล้วควรมีตุ่มออกมาตามผิวหนังตามมา แต่ปรากฏว่าไม่มี ให้กระทุ้งด้วยยาตำรับนี้
ยานี้ให้เอาไข่เป็ด เห็ดขี้ควาย (Psilocybe cubensis) แช่น้ำทาดีแล

เห็ดสามอย่างช่วยชะล้างสารพิษในร่างกาย



หลายคนอาจเคยทราบมาก่อนแล้วว่า ถ้านำเห็ดอย่างน้อย 3 ชนิดใดก็ได้เมื่อนำมาปรุงเป็นอาหาร ความมหัศจรรย์จะเกิดขึ้นและเป็นอีกหนึ่งเมนูที่ให้ทั้งความอร่อยและสุขภาพ นั่นคือ “เมนูเห็ดล้างพิษ” 

หลักการบริหาร โรคและแมลงศัตรูเห็ด

              
                   1.การ ผลิตเห็ดนั้น การรักษาความสะอาดอย่างถูกหลักอนามัยและบริเวณรอบโรงเรือนเป็นสิ่งสำคัญและ จำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งอาจกระทำได้โดยการดูแลรักษาความสะอาดของผู้เข้าไปปฏิบัติงานหรือผู้เข้า ไปเยี่ยมชมอย่างเคร่งครัด หรือก่อนที่จะนำเอาถุงก้อนเห็ดเข้าโรงเรือนเพาะ ควรผ่านการฆ่าเชื้ออย่างถูกวิธีทุกครั้ง และก้อนเห็ดที่เน่าเสียทุกถุง ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุอะไรควรนำออกไปทำลายโดยทันที ถ้าสามารถทำได้เช่นนี้ อย่างน้อยก็จะเป็นการหลีกเลี่ยงหรือลดการเสี่ยงต่อการระบาดทำลายของโรค และแมลง-ศัตรูเห็ด ได้มากกว่า 90%
 
            
2.
การ พักโรงเรือนหรือทำโรงเรือนเพาะให้ว่างเปล่าไว้สักระยะหนึ่ง จะเป็นการตัดวงจรชีวิตโรคและแมลง-ศัตรูเห็ดชนิดต่างๆ ที่ระบาดสะสมอยู่ในโรงเรือนได้


          3.การ ดูแลเอาใจใส่ หมั่นสังเกตในการเปลี่ยนแปลงของเห็ดที่เพาะไว้ทุกระยะอย่างละเอียดเท่าที่จะ ทำได้ การหมั่นเสาะแสวงหาความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น การนำเอาเครื่องดักจับไฟฟ้าชนิดหลอด (ฺBlack Light) หรือกับดักกาวเหนียว ( Sticky Trap) มาใช้ในโรงเรือนเพื่อการควบคุมปริมาณตัวแก่ของแมลงศัตรูเห็ด ก็จะเป็นประโยชน์อย่างมาก

          

การบริหารจัดการฟาร์มเห็ดให้ประสบความสำเร็จ

         การเพาะเห็ดเป็นอาชีพที่ได้มีวิวัฒนาการมาเป็นเวลากว่า 60 ปี โดยอาศัยการศึกษาวิจัย ค้นคว้าทั้งในและต่างประเทศ มีการเผยแพร่สู่เกษตรกรและผู้สนใจ ในลักษณะการทำเป็นอาชีพเสริมรายได้กระทั่งพัฒนาไปเป็นอาชีพหลัก มีชาวฟาร์มเห็ดเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก และส่วนหนึ่งก็ล้มเลิกกิจการ ทั้งนี้เนื่องจากขาดการนำความรู้ เทคโนโลยีและประสบการณ์ การใช้ในการบริหารจัดการฟาร์มแบบผสมผสาน ดังนี้ผู้ที่ต้องการเพาะเห็ดให้ประสบความสำเร็จ ควรจะมีการพิจารณาในสิ่งต่อไปนี้

การให้น้ำเห็ดถูกวิธี

           เรื่องของการเพาะเห็ดนั้น กล่าวได้ว่าขึ้นอยู่กับอัธยาศรัยของผู้เพาะโดยแท้ นอกจากเกษตรกรจะสามารถเลือกชนิดเห็ดที่ชอบ ระยะเวลา ปริมาณที่เพาะได้ตามความสมัครใจ และความพร้อมได้แล้ว เกษตรกรบางรายยังเลือกที่จะบังคับให้เห็ดทะยอยออกดอกให้ได้เก็บทุกวัน  เพื่อให้ได้เงินทุกวันและไม่ให้ล้นตลาด ในขณะที่เกษตรกรอีกคนอาจเลือกที่จะบังคับให้เห็ดออกดอกเป็นชุดๆ พร้อมๆกัน เพื่อให้เก็บได้คราวละมากๆ จะได้ไม่เสียเวลา และใช้วิธีหมุนเวียน(กรณีมีก้อนเห็ดมาก) ส่วนวิธีการบังคับดอกนั้น เฉพาะเห็ดนางฟ้า- นางรม ทำได้หลายวธีทั้งใช้ปุ๋ย ฮอร์โมน แต่ขอเล่าให้ฟังเฉพาะวิธีงดน้ำ
     

หลากหลายพันธุ์เห็ดรสอร่อย


เห็ดนำมาปรุงอาหารให้อร่อยได้ หลากหลายวิธี ทั้งต้มน้ำแกง ผัด ยำ ย่าง หรือทอด ที่เห็นมากในบ้านเรา ได้แก่

           - เห็ดหอม มีทั้งแบบเนื้อบางและหนา คนนิยมนำเห็ดหอมตากแห้งมาปรุงอาหารเพราะให้กลิ่นหอมมากกว่าแบบสด ซึ่งก่อนปรุงต้องลวกในน้ำเดือดประมาณครึ่งชั่วโมง หรือแช่น้ำอุ่นประมาณ 2-3 ชั่วโมง หรือข้ามคืน ช่วยให้เนื้อเห็ดนุ่มขึ้น น้ำแช่เห็ดหอมนี้ยังเก็บเอาไปทำเป็นน้ำสต๊อกปรุงรสอาหารได้ด้วย คนนิยมนำมาปรุงอาหารเจ เพราะเนื้อนุ่มเหนียวและกลิ่นหอมชวนกิน ชาวจีนยกให้เห็ดหอมเป็นอาหารตำรับ “อมตะ” เพราะคุณสมบัติความเป็นยาบำรุงกำลัง และบรรเทาอาการไข้หวัด การไหลเวียนเลือดไม่ดี ปวดกระเพาะอาหาร รวมทั้งอาการเหนื่อยอ่อนเพลีย ซึ่งเห็ดหอมนี้จะให้โปรตีนได้มากกว่าเห็ดแชมปิญองถึง 2 เท่าเลยทีเดียว นอกจากนี้ยังอุดมด้วยวิตามินเอ วิตามินบี ซีลีเนียม และธาตุอื่นๆ ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย ช่วยบำรุงกระดูกแข็งแรง ลดไขมันในเลือด และต้านโคเลสเตอรอล