วันพฤหัสบดีที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2556

หลักการบริหาร โรคและแมลงศัตรูเห็ด

              
                   1.การ ผลิตเห็ดนั้น การรักษาความสะอาดอย่างถูกหลักอนามัยและบริเวณรอบโรงเรือนเป็นสิ่งสำคัญและ จำเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งอาจกระทำได้โดยการดูแลรักษาความสะอาดของผู้เข้าไปปฏิบัติงานหรือผู้เข้า ไปเยี่ยมชมอย่างเคร่งครัด หรือก่อนที่จะนำเอาถุงก้อนเห็ดเข้าโรงเรือนเพาะ ควรผ่านการฆ่าเชื้ออย่างถูกวิธีทุกครั้ง และก้อนเห็ดที่เน่าเสียทุกถุง ไม่ว่าจะเกิดจากสาเหตุอะไรควรนำออกไปทำลายโดยทันที ถ้าสามารถทำได้เช่นนี้ อย่างน้อยก็จะเป็นการหลีกเลี่ยงหรือลดการเสี่ยงต่อการระบาดทำลายของโรค และแมลง-ศัตรูเห็ด ได้มากกว่า 90%
 
            
2.
การ พักโรงเรือนหรือทำโรงเรือนเพาะให้ว่างเปล่าไว้สักระยะหนึ่ง จะเป็นการตัดวงจรชีวิตโรคและแมลง-ศัตรูเห็ดชนิดต่างๆ ที่ระบาดสะสมอยู่ในโรงเรือนได้


          3.การ ดูแลเอาใจใส่ หมั่นสังเกตในการเปลี่ยนแปลงของเห็ดที่เพาะไว้ทุกระยะอย่างละเอียดเท่าที่จะ ทำได้ การหมั่นเสาะแสวงหาความรู้และเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น การนำเอาเครื่องดักจับไฟฟ้าชนิดหลอด (ฺBlack Light) หรือกับดักกาวเหนียว ( Sticky Trap) มาใช้ในโรงเรือนเพื่อการควบคุมปริมาณตัวแก่ของแมลงศัตรูเห็ด ก็จะเป็นประโยชน์อย่างมาก

          
4.สำหรับ ท่านที่กำลังจะคิดขยายกิจการเพาะเห็ดให้ใหญ่โตกว้างขวางขึ้นไป ก็ควรจะมีการวางแผนการจัดการในระดับต่างๆให้ได้ก่อนลงมือดำเนินการเช่น มีการวางแผนล่างหน้าเกี่ยวกับสายพันธุ์ การอารักขาพืชและการตลาด เป็นต้น ซึ่งควรวางแผน 2 แบบ คือ แผนปฏิบัติการเมื่อเหตุการณ์ปกติและฉุกเฉิน

          5.การเก็บผลผลิต

   การเก็บดอกเห็ดสำหรับเห็ดแต่ละชนิด

          - เห็ดฟาง เก็บเมื่อดอกเห็ดโตเต็มที่ มีปลอกหุ้มดอกเต่งตึง
          - เห็ดนางรม นางฟ้า นางนวล เป๋าฮื้อ เก็บเมื่อดอกบานประมาณ 50%
          - เห็ดหูหนู เก็บเมื่อดอกบานย้วยเต็มที่
          - เห็ดตีนแรด เก็บในขณะที่ขอบหมวกเห็ดยังงุ้มอยู่
          - เห็ดขอนขาว นิยมรับประทานดอกอ่อน หรือหมวกเห็ดมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 3 ซม.
          - เห็ดหลินจือ เก็บเมื่อหมวกเห็ดแผ่บานเต็มที่
          - เห็ด ยานางิ เก็บเมื่อกลุ่มดอกเห็ดโตเต็มที่ แต่ขอบหมวกยังงุ้มอยู่และเนื้อเยื่อที่ยึดที่ขอบหมวก กับก้านเห็ดยังไม่ขาดออก โดยมีเส้นผ่านศูนย์กลางหมวกประมาณ 2 - 4 ซ.ม. และมีก้านยาวประมาณ 5-11 ซ.ม.
          ควร เก็บดอกเห็ดในช่อเดียวกันทั้งหมด อย่าให้มีเศษเหลือติดค้างอยู่กับก้อนเชื้อเนื่องจากจะทำให้เศษเหลือทิ้งเน่า เชื้อโรคและแมลงจะเข้าทำลายได้เมื่อมีการบริหารจัดฟาร์มเห็ดตามที่ได้กล่าว ข้างต้นแล้ว เชื่อมั่นเป็นอย่างยิ่งว่าท่านจะประสบความสำเร็จในการเพาะเห็ดอย่างแน่นอน

ไม่มีความคิดเห็น: