วันพุธที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

สิ่งที่ควรรู้สำหรับบรรดาสมาชิกเพาะเห็ด


ขั้นตอนวิธีการดูแลรักษาดอกเห็ด
นางรมขาว,นางรมฮังการี่  และนางฟ้าภูฏานดำ

     หลัง จากที่เราได้รับก้อนเชื้อเห็ดที่เดินเต็มก้นถุงแล้วจากผู้ผลิต ผู้จำหน่าย ให้เราสังเกตดูจากถุงก้อนเชื้อจะมีสีขาวเต็มถุงหลังจากนั้นให้เรานำไปทำตาม ขั้นตอน  ดังต่อไปนี้

     ขั้นที่ 1  เมื่อเส้นใยเจริญเต็มถุงก้อนเชื้อแล้วก็นำเข้าโรงเรือน  เพื่อทำให้เกิดดอก โดยทั่วไปแล้วการทำให้เกิดดอกในปัจจุบันนี้มีอยู่ 3 วิธี คือ
        1.การดึงจุกสำลีออกแล้วรดน้ำ (วิธีนี้นิยมกันมากและจะดีต่อการดูแล)
        2.การปาดคอถุงระดับบ่าแล้วรดน้ำ
        3.การกรีดข้างถุงแล้วรดน้ำ
           (ขั้นตอนนี้ส่วนใหญ่ผู้จำหน่ายจะดำเนินการคือได้ดึงจุกและสำลีออกไว้แล้ว)



ขั้นที่ 2 การดูแลรักษาถุงก้อนเชื้อ
       การที่จะเพาะเห็ดให้ได้ผลผลิตสูง  และเก็บเกี่ยวได้หลายๆครั้ง ขึ้นอยู่กับการดูแลรักษาถุงก้อนเชื้อ และการรักษาความสะอาดภายในโรงเรือนเป็นสำคัญ  มีวิธีการดังนี้
      1.ก่อนนำถุงก้อนเชื้อเข้าโรงเรือน ควรนำออกมาวางไว้ในที่ลมโกรกและมีแสงสว่างอย่างเพียงพอ ประมาณ 2 วัน เส้นใยจะรัดตัวพร้อมที่จะเป็นดอกเห็ด
     2.การดึงจุกสำลีออก  ต้องดึงออกให้หมด  อย่าให้มีเหลือในคอขวดเพราะเมื่อเวลารดน้ำสำลีที่เหลืออยู่จะดูดซับน้ำเอา ไว้ทำให้มีความชื้นมากเกินไป
     3.การรดน้ำต้องให้เพียงพอและทั่วถึง  อย่าให้มากเกินไป เพราะถ้ามากเกินไป นอกจากเห็ดจะไม่ออกดอกแล้ว    อาจทำให้ถุงก้อนเชื้อเน่าได้   ในกรณีที่ใช้บัวรดน้ำหรือใช้สายยางรด โอกาสที่น้ำจะเข้าไปขังมีมาก แก้โดยการใช้มีดกรีดตรงบ่าของถุงด้านล่าง
     4.ในการเก็บดอกเห็ด ต้องเก็บให้หมดรวมทั้งดอกเล็กด้วย ไม่ควรเหลือไว้เพราะดอกเล็กถ้าได้รับการกระทบกระเทือนจะหยุดการเจริญ  หรือเน่าฝ่อไป และเมื่อเก็บแล้ว ถ้าก้านดอกขาดคาคอถุงต้องแคะออก ไม่เช่นนั้นแล้วจะขวางทางการออกของดอกเห็ดรุ่นต่อไป หรืออาจจะเน่าคาคอขวดได้
      5.ถ้าความชื้นภายในโรงเรือนลดลง(น้อยกว่า 70- 80 %) ทำการเพิ่มความชื้นเข้าไปภายในโรงเรือนโดยการรดน้ำลงที่พื้นโรงเรือน และฉีดพ่นละอองน้ำ
      6.เมื่อถุงก้อนเชื้อเริ่มโทรมและหมดสภาพ   ก่อนที่จะนำไปทิ้งหรือนำไปทำเป็นปุ๋ยควรกลับเอาด้านท้ายออกมาแล้วใช้มีดกรีด รดน้ำต่อจะได้เห็ดอีก 1 รุ่น


ขั้นที่ 3 ความรู้ทั่วไปประกอบ
การ เรียงก้อนเชื้อ คือนำไปวางเรียงกันในแนวนอนซ้อนๆกันตามชั้นวางก้อนเชื้อในโรงเรือน โดยวางเอียงพอประมาณหรือ 45 องศา  หากมีความสูงไม่เกิน  1.50 ม. (ก็จะดี) ชั้นวางก้อนเชื้อหากเป็นการรองที่พื้นด้วยอิฐบล็อกด้านหลังพิงด้วยวัสดุเก็บ ความชื้นได้ก็จะดี จะทำให้ก้อนเชื้อและโรงเรือนมีความชื้นตลอดเวลา เพราะเห็ดมีความต้องการความชื้นสูง ประมาณ 70-80 % เช่น ถุงกระสอบข้าว แต่ผลเสียคือไม่ทนใช้งานได้ไม่นาน ส่วนใหญ่ใช้ไม้ไผ่ และตาข่ายพลาสติกหนา หากเป็นเหล็กก็จะดีมากเป็นวัสดุพิงก้อนเชื้อเห็ด เป็นต้น (การสังเกตความชื้นในโรงเรือนโดยลองเอามือแตะปากก้อนเชื้อดูหากมีน้ำเปียก มือเล็กน้อยก็เพียงพอแล้ว หรือสังเกตดูว่าดอกเห็ดมีลักษณะไม่แห้งตึง เฉา เหี่ยว ก็เป็นอันใช้ได้ 
การทำความชื้นให้ได้มาตรฐานและไม่กระทบกับดอก เห็ด คือ  1 การรดน้ำก้อนเชื้อที่ก้นด้วยบัวรดน้ำ หรือสายยางรถน้ำที่เป็นน้ำเป็นฝอย ห้ามรดน้ำเข้าไปในปากถุงก้อนเชื้อเพราะจะทำให้เชื้อเห็ดเน่าเกิดดอกช้า  2 การฉีดพ่นเป็นฝอยด้วยเครื่องฉีดน้ำ (เหมือนเครื่องฉีดยาฆ่าแมลง หาซื้อได้ทั่วไปร้านขายเมล็ดผักผลไม้) ฉีดทำความชื้นตามเพดาน  ผนัง และพื้นดิน (หากผนัง เพดานเป็นวัสดุเก็บความชื้นจะดีมาก เช่น หญ้าคา  ฟาง  กระสอบข้าว  และอิฐปูน  ฯ) แต่ถ้าหากต้องการให้ดอกเห็ดสวยมีน้ำหนักออกดอกได้นานมีผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าให้นำเอาอาหารเสริม “นิวคลีโอไทด์”จากผู้เชี่ยวชาญสหประชาชาติ UN มาเติมลงในขั้นตอนนี้ด้วย สัดส่วน น้ำ 10 ลิตร ต่อ นิวคลีโอไทด์ 200 CC หากมีแมลงระบาดให้ใช้ “ฟังแบคคิว”สารชีวภาพกำจัดแมลงจากผู้เชี่ยวชาญสหประชาชาติ UN ทั้ง2ชนิดไม่เป็นพิษภัยต่อคนเพราะสกัดจากพืช ผัก ผลไม้จากธรรมชาติมีผลดีต่อร่างกายคน 3 สังเกตที่ปรอทวัดอุณหภูมิ ให้อยู่ในช่วงองศาที่ 24-30 องศา หากจะให้ดีควรควบคุมให้อยู่ที่ 25  องศา(สำหรับเห็ดนางฟ้าภูฏานดำ) จะให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น