ตัวหนึ่งที่มี Direct Impact คือคุณภาพของก้อนเชื้อเห็ด
แต่ผมว่ายังมีอีกเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน คือ ความชื้นของวัสดุเพาะเห็ด
แห้งไปก็ไม่ดี ชื้นเกินไปก็ยิ่งเป็นปัญหา
โดย ทั่วไปความชื้นของวัสดุเพาะเห็ด หลังจากผสมขี้เลื่อยเข้ากับอาหารเสริม (เช่น รำละเอียด ดีเกลือ ปูนขาว...) และน้ำแล้วมี range อยู่ที่ประมาณ 55-65 % (บางสำนักขึ้นถึง 70% ก็มี)
โดยปกติสูตรอาหารเพาะเห็ดจะมีปริมาณกำกับหมด ยกเว้น น้ำ
น้ำจะเติมเท่าไร ก็ขึ้นอยู่กับความชื้นของขี้เลื้อย lot นั้นๆ ไม่มีคำตอบตายตัว
ถ้า ชื้นมาก ก็เติมน้ำน้อยหน่อย หรือดีไม่ดีอาจต้องหาขี้เลื่อยแห้งมาเติมก็ได้ เช่น บางฟาร์มเก็บขี้เลื้อยไว้กลางแจ้ง แถมผ้าใบก็ไม่ได้คลุม ฝนมา ขี้เลื้อยก็แฉะ
หรืออีกกรณี หนึ่ง คือ ขี้เลื่อยใหม่จะซับน้ำได้ดีกว่าขี้เลื่อยเก่า ความชื้นในขี้เลื่อยใหม่จึงมากกว่าขี้เลื่อยเก่า การเติมน้ำจึงไม่ต้องมากเช่นกัน
ถามว่าความชื้น 55-65% วัดอย่างไร
ถ้า ซื่อๆเลย คือ ก็ชั่งวัสดุเพาะให้ได้ 1 กก. จากนั้นก็ตวงน้ำให้ได้ 5.5 หรือ 6.5 ขีด ผสมและคลุกเคล้าให้เข้ากัน นี้แหละความชื้น 55% หรือ 65%
แต่ทำอย่างนี้ทุก lot ก็ตายครับ ไม่ทันกินพอดี !!
วิธีที่ง่ายกว่านั้นมีครับ คือ
1. ใช้การสังเกต
เมื่อผสมคลุกเคล้ากันเรียบร้อยแล้ว ให้จับวัสดุเพาะมาประมาณหนึ่งกำมือ หลังจากนั้นให้กำและบีบ ต้องไม่มีน้ำออกที่ง่ามนิ้ว และเมื่อคลายมือออก วัสดุเพาะจับเป็นก้อนหลวม ไม่แตกร่อนออกอย่างรวดเร็ว
เท่านี้ก็ถือว่าใช้ได้ครับ
ฝึกบ่อยๆ ก็เป็นเร็วครับ ไม่มีอะไรยุ่งยาก
2. ใช้เครื่องมือ
ถ้ายังไม่แน่ใจในประสบการณ์ตัวเอง จะใช้เครื่องวัดก็ไม่ว่ากันครับ เครื่องมือพวกนี้ก็มีให้เลือกหลากหลายชนิด มีทั้งวัดความชื้นอย่างเดียว หรือจะวัดความเป็นกรด-ด่างด้วยก็มี เลือกเอาตามสะดวกครับ
บางทีการยอมจ่ายเล็กๆน้อยๆ เพื่อป้องกันความผิดพลาดก็คุ้มค่าต่อการลงทุนด้วยประสบการณ์ในเรื่องที่ป้องกันได้ครับ
ความ ชื้นที่พอเหมาะของก้อนเชื้อเห็ด จะทำให้การนึ่งก้อนทำได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ช่วยป้องกันเชื้อราและโรคต่างๆที่จะตามมาได้อีกทางครับ
เมื่อนั้นเราก็จะได้ก้อนเชื้อเห็ดที่มีคุณภาพไว้ใช้ หรือจำหน่ายต่อไปครับ
Article Credit :
อ.คณวัฒน์ ธีรนิธิวัฒน์ (ที่ปรึกษาธุรกิจ และผู้บริหาร ifarm) - find more
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น